Products

AUTOMATIC SORTING CONVEYOR PLANT-CONTROL SYSTEM

sConveyor 

1.เป็นชุดฝึกได้รับการออกแบบสำหรับการเรียนการสอนโดยเฉพาะ สามารถทำการศึกษาระบบ หรือ กระบวนการทำงานของการควบคุมแบบอัตโนมัติเชิงอุตสาหกรรม
2.ชุดฝึกมีลักษณะเป็นแบบจำลองการทำงาน ที่สามารถแสดงให้เห็นกระบวนการที่มีการเคลื่อนที่ และควบคุมการทำงานได้จริงตามเงื่อนไขที่กำหนด ด้วยการควบคุมทั้งในส่วนของระบบไฟฟ้า และระบบนิวแมติกส์
3.ระบบทั้งหมดประกอบด้วยส่วนต่างๆที่ทำงานสัมพันธ์และต่อเนื่องกันเช่น การตรวจจับชนิดของวัตถุชิ้นงาน, การตรวจจับน้ำหนัก, การตรวจจับชนิดของสีการเคลื่อนย้าย
ชิ้นงาน, ระบบสายพานเพื่อลำเลียง, ระบบคัดแยกวัตถุชิ้นงาน
4.ส่วนควบคุมการประมวลผลใช้อุปกรณ์ PLC
5.ส่วนแสดงผลและการป้อนค่าข้อมูลใช้อุปกรณ์ Touch Screen (HMI)
6.อุปกรณ์ PLC, และ Touch Screen สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างไม่มีปัญหา และเป็นผลิตภัณฑ์จากบริษัทผู้ผลิตเดียวกัน พร้อมมีเอกสารที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าจากบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์สินค้าเพื่อการบริการหลังการขายพร้อมแนบเอกสารประกอบการพิจารณา
7.ประกอบด้วยชุดโปรแกรมที่ใช้งานกับ PLC (ISPSoft) และ Touch Screen (DOPSoft)
8.อุปกรณ์ขับเคลื่อนชุดระบบสายพานเป็น DC Motor อุปกรณ์ชุดลำเลียงวัตถุชิ้นงานเป็น Steping Motor ขับเคลื่อนผ่านแกนแกนสไลท์แบบสกรู และมีอุปกรณ์อื่นใoระบบนิวแมติกส์ เช่น กระบอกลม วาวล์ ทีมีขนาดและจำนวนที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถทำการทดลองได้
9.พร้อมโปรแกรมตัวอย่างเพื่อใช้งานประกอบในการทดลอง
10.โครงสร้างพื้นฐานทำด้วยวัสดุที่เป็นอลูมิเนียมโพรไฟล์ ขนาดไม่น้อยกว่า
1500 x 800 มม. (ก x ย)
11.จุดต่อใช้งานเป็นแบบ Safety Socket 4 มม.
12.ประกอบด้วยชุดอุปกรณ์ประกอบอื่น เช่น ชุดโต๊ะปฎิบัติการ, สายเสียบทดลอง,คอมพิวเตอร์

สามารถทำการทดลองในหัวข้อดังนี้

1. การใช้งานโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ (Programmable Logic Controller)
    –  การเขียนโปรแกรมควบคุมด้วยคำสั่งพื้นฐานต่างๆ การหาค่าตัวแปรในโปรแกรม Ladder Diagram และ Function Block
2. การใช้งานจอภาพระบบสัมผัส (Human Machine Interface)
     –  การเขียนโปแกรมควบคุมและแสดงผล HMI
     –  การเขียนโปแกรมควบคุมและแสดงผล HMI เพื่อทำงานร่วมกับ PLC ผ่านการติดต่อสื่อสารด้วยพอร์ต RS485
3. ศึกษาการเขียนโปรแกรมด้วยคำสั่งการเคลื่อนที่และการควบคุมตำแหน่งของสเต็ปปิ้งมอเตอร์ พร้อมระบบการตรวจจับวัตถุ
4. การใช้คำสั่งในการควบคุมชุดมือจับวัตถุ (Gripper) และการเคลื่อนย้ายเข้าตำแหน่ง
5. เรียนรู้หลักการทำงานของ Load Cell Transmitter และการใช้ Output Analog ไปใช้งานกับชุด PLC สำหรับใช้ในการควบคุม
6. การเขียนโปรแกรมในการควบคุมการทำงานของสายพานลำเลียงพร้อมกับการควบคุมระบบตรวจจับวัตถุและการคัดแยกวัตถุ
7. การเขียนโปรแกรมการรับวัตถุและการสลับทิศทางของชุด Rotary Table พร้อมทั้งการตรวจจับตำแหน่ง
8. ศึกษาหลักการทำงานของชุดเซนเซอร์สีแบบสีต่างๆ และการทำ Auto-Teaching แบบกำหนดสี เพื่อใช้ในการควบคุมและสามารถเขียนโปรแกรม PLC เพื่อกำหนดเงื่อนไข พร้อมทั้งการควบคุมการทำงานการเคลื่อนที่ของสายพานและการคัดแยกวัตถุต่างๆ
9. ออกแบบและประยุกต์การทำงานทั้งหมด เพื่อให้สามารถทำงานเป็นแบบการทำงานระบบอัตโนมัติและสามารถทำการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขในการทำงานได้

Please Login To Download Attachment

Reviews

There are no reviews yet.

Be the first to review “AUTOMATIC SORTING CONVEYOR PLANT-CONTROL SYSTEM”

Your email address will not be published. Required fields are marked *